ปลวกไม้แห้ง

บริการกำจัดปลวกไม้แห้ง

ขั้นตอนในการกำจัดปลวกไม้แห้ง
สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนทำบริการ
เจาะพื้นอัดน้ำยาเคมีลงดินบริเวณมุมเสา ระหว่างเสา แนวคานรอบๆอาคาร (ในการทำบริการครั้งแรก)
ปักอัดน้ำยาเคมีบริเวณส่วนที่เป็นดินที่ติดกับแนวคานรอบๆของตัวบ้าน/อาคารตลอดจนบริเวณส่วนที่เป็นสวนหย่อม ใต้ต้นไม้ สนามหญ้า(ในการทำบริการครั้งแรก)
ตั้งเครื่องซีนน้ำยาเคมีเข้าบริเวณรอยแตกร้าวของอาคาร ใต้ถุน ใต้แนวคานที่ทรุดตัวของตัวของพื้นบ้าน/อาคารหรือบริเวณรอยแตกร้าวของผนัง กำแพงบ้าน/อาคาร (ในการทำบริการครั้งแรก)
ตรวจเช็ค ใช้ลูกยางบีบยาเคมีผงเข้าบริเวณทางเดินปลวก โดยเน้นจุดที่มีปัญหาปลวก เช่น รอยแตกร้าวของอาคาร ฝาผนัง วงกบประตู หน้าต่าง พื้นปาร์เก้ ใต้ฝ้าเพดาน ท่อชาร์ป หรือบริเวณขอบผนังห้องน้ำที่เปียกชื้นต่างๆ เป็นต้น (ในกรณีที่เจอตัวปลวกเท่านั้น
ติดตามผลและควบคุมปัญหาอย่างต่อเนื่อง
ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดปลวกเบื้องต้น ควรจัดเก็บสิ่งของทั่วไปที่ทำด้วยไม้ กระดาษ หรืออื่นๆซึ่งเหมาะสำหรับการเป็นอาหารของปลวกให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
สารเคมีที่ใช้ : agenda, fipronil, bifenthrin, fenobucarb, termiticide, powder

ปลวกไม้แห้ง คือ ปลวกกินไม้ ที่ชอบแทะหรือกิน ไม้แห้ง

ปลวกจัดเป็นแมลงสังคมมีความเป็นอยู่สลับซับซ้อน แบ่งออกเป็น 3 วรรณะ และทำหน้าที่แตกต่างกันชัดเจน วรรณะกรรมกรหรือปลวกงาน ทำหน้าที่หน้าที่หาอาหาร และสร้างรัง วรรณะทหาร
ทำหน้าที่ป้องกันศัตรูที่เข้ามารบกวนประชากรภายในรัง วรรณะสืบพันธุ์ หรือบางช่วงของวงจรชีวิตเรียกว่าแมลงเม่า ทำหน้าที่สืบพันธุ์และวางไข่ ความแตกต่างของสภาพทางชีววิทยา นิเวศวิทยา รวมทั้งอุปนิสัยในการสร้างรังและการกินอาหารของปลวกแต่ละชนิด สามารถจำแนกปลวกได้ดังนี้

แบ่งตามประเภทของอาหาร และอุปนิสัยในการสร้างรัง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ปลวกกินไม้ พบทั้งชนิดที่สร้างรังอยู่ใต้พื้นดิน ชนิดที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือบนต้นไม้ จัดเป็นปลวกใต้ดิน และบางชนิดอาศัยอยู่และกินภายในเนื้อไม้ เรียกว่าปลวกไม้แห้ง หรือปลวกไม้เปียก
ปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อรา จะกินทั้งเนื้อไม้ เศษไม้ ใบไม้ และเชื้อราที่เพาะเลี้ยงไว้ในรัง พบทั้งชนิดที่สร้างรังอยู่ใต้พื้นดิน และรังขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่บนดิน
ปลวกกินดิน และอินทรียวัตถุ พบได้ทั้งชนิดที่สร้างรังอยู่ใต้พื้นดิน และสร้างรังขนาดเล็กอยู่บนพื้นดิน
ปลวกกินไลเคน ส่าวนใหญ่สร้างรังบนดินบริเวณโคนต้นไม้

แบ่งตามชนิดของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

ในขบวนการกิน และการย่อยอาหาร ปลวกไม่สามารถผลิตน้ำย่อย หรือเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารได้เอง ต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยร่วมอยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของปลวก
เช่น protozoa, bacteria หรือ เชื้อรา ให้ผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น cellulase และ lignocellulase ออกมาย่อย cellulose หรือ lignin
ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในอาหารที่ปลวกกินเข้าไปให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือสารประกอบในรูปที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ เราสามารถแบ่งประเภทของปลวกตามชนิดของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้เป็น 2 ประเภท คือ

ปลวกชั้นต่ำ ส่วนใหญ่ปลวกชนิดที่กินเนื้อไม้เป็นอาหาร อาศัย protozoa ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารช่วยในการผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร ในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 วงศ์ (family) คือ Kalotermitidae, Termopsidae และ Rhinotermitidae
ปลวกชั้นสูง ส่วนใหญ่เป็นปลวกชนิดที่กินดิน ซากอินทรียวัตถุ ไลเคน รวมทั้งพวกที่กินเศษไม้ ใบไม้ และเพาะเลี้ยงเชื้อราไว้เป็นอาหาร จะมีวิวัฒนาการที่สูงขึ้น เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพนิเวศวิทยาที่แห้งแล้งหรือขาดอาหารได้ดี
อาศัยจุลินทรีย์จำพวก bacteria หรือ เชื้อราภายในระบบทางเดินอาหาร ผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยสลายอาหารให้กับปลวก ซึ่ง bacteria บางชนิดจะมีความสามารถในการจับธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาสร้างกรดอะมิโนที่ปลวกสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้
และบางชนิดมีความสามารถผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารพิษบางอย่างที่สลายตัวได้ยากในสภาพแวดล้อม ในประเทศไทยพบปลวกชั้นสูงอยู่ในวงศ์ Termitidae

วรรณะต่างๆ ของปลวก

โดยทั่วไปปลวกแต่ละรังประกอบด้วยสมาชิก 3 วรรณะใหญ่ๆ คือ วรรณะทหาร วรรณะกรรมกร และวรรณะสืบพันธุ์ ทั้ง 3 วรรณะ อาศัยอยู่ร่วมกันภายในรัง ซึ่งมีการจัดระบบอย่างดี ทุกวรรณะมีหน้าที่ในการดำรงชีวิตเฉพาะของตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับหน้าที่ของวรรณะอื่น ๆ ในการดำรงชิวิต และการพัฒนาของประชากรในรังทั้งหมด การทำงานของปลวกแต่ละวรรณะ ถูกำหนดโดยหลายสาเหตุด้วยกัน การแลกเปลี่ยนสารเคมีระหว่างปลวกแต่ละตัวภายในรังเดียวกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมหน้าที่ต่าง ๆ ภายในรังให้ดำเนินไปตามภาระหน้าที่ของแต่ละวรรณะ
วรรณะทหาร (soldier)
มีหน้าที่ในการป้องกันประชากรในวรรณะอื่น ๆ จากศัตรูที่เข้ามาทำร้าย โดยทั่วไปเป็นพวกที่มีขนาดใหญ่กว่าปลวกวรรณะอื่น ๆ มีหัวโตสีน้ำตาล กรามใหญ่ ยาว และแข็งแรง ใช้ในการต่อสู้กับศัตรู ส่วนใหญ่จะเป็นมดชนิดต่าง ๆ ปลวกบางชนิดไม่มีกราม แต่จะมีตุ่มหรือท่ออยู่ที่ส่วนหัวซึ่งจะเป็นทางออกของสารเคมีซึ่งเป็นสารเหนียว ๆ เพื่อใช้ต่อสู้กับศัตรูแทนกราม
วรรณะกรรกร (worker)
พบจำรวนมากที่สุดภายในจอมปลวกแต่ละรัง มีหน้าที่หลายประการ เช่น เลี้ยงตัวอ่อน หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปลวกกรรมกรหรือบางครั้งเรียกว่าปลวกงานที่มีอายุต่างกัน จะมีขนาดและหน้าที่ในการดำเนินงานที่ต่างกันออกไป ปลวกกรรมกรเป็นปลวกที่ไม่มีปีก มีผนังลำตัวบางสีอ่อน เป็นวรรณะที่พบเห็นมากที่สุดเมื่อสำรวจพบการทำลายของปลวก เนื่องจากเป็นวรรณะเดียวที่ทำหน้าที่ในการทำลายไม้หรือวัสดุต่าง ๆ
วรรณะสืบพันธุ์ (reproductive)
ประกอบด้วยปลวกที่มีรูปร่างลักษณะต่างกันไป ตามช่วงระยะเวลาของการดำเนินชีวิต เช่น
แมลงเม่า เป็นวรรณะสืบพันธุ์ที่มีปีก ส่วนใหญ่ปีกจะมีขนาดยาวเป็นสองเท่าของลำตัว สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีดำ เมื่อสภาพอากาศที่เหมาะสม แมลงเม่าจะบินออกจากรังไปผสมพันธุ์กัน และเริ่มสร้างรังใหม่
นางพญา และราชา เป็นแมลงเม่าที่ผสมพันธุ์กันแล้วสลัดปีก และสร้างรังอยู่ในดิน หรือในไม้ถ้าเป็นปลวกไม้แห้ง สำหรับนางพญาหรือราชินีปลวก เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ส่วนท้องจะขยายใหญ่เพื่อใช้เป็นอวัยวะที่ใช้เป็นที่เก็บไข่ซึ่งมีอยู่มากมายนับล้านฟอง เพื่อรอจังหวะที่จะวางไข่ต่อไป
วรรณะสืบพันธุ์รอง เป็นปลวกที่พบในรังที่นางพญาหรือราชามีประสิทธิภาพในการผลิตไข่ลดลง อายุขัยของปลวกวรรณะนี้จะสั้นกว่านางพญาหรือราชา และมีประสิทธิภาพในการวางไข่ต่ำกว่าด้วย
การควบคุมการเกิดของปลวกวรรณะต่าง ๆ นั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของนางพญา ซึ่งจะผลิตสารเคมีหรือฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ออกมาทางรูขับถ่าย แล้วปลวกกรรมกรจะมาเลียสารนี้ แล้วเลียต่อกันไปจนทั่วรัง รูปร่างลักษณะรวมทั้งการทำงานของปลวกที่ได้รับสารเคมีจากนางพญา จะควบคุมให้เป็นไปตามความต้องการในการดำรงชีวิตของปลวกในแต่ละรัง