
มดคันไฟ (Fire Ant)
มดคันไฟมีลักษณะสี เหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หนวดมี 10 ปล้อง อกแคบ เห็นชัดเจน มี 2 ปุ่ม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน มดคันไฟจะทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยโดยดินทรายรังหนึ่งๆ มีรูทางเข้าออกเล็กๆ บนพื้นดินได้หลายรู กินแมลงและซากสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร ถ้ามดคันไฟใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อย จะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟ หลังจากถูกต่อยจะมีอาการบวมแดงขยายกว้างขึ้น และจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคัน มากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น
มด (อังกฤษ: Ant) เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน
ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้หนวดของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ Fomisintos ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงานสถาณภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ
ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (Emando) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด ซึ่งแบ่งออกดังนี้
มดราชา (King Ant) มีหนวดประมาณ 500-1000 ปล้อง
มดเพศผู้ (Male Ant) มีหนวดประมาณ 117-163 ปล้อง
มดเพศเมีย (Female Ant) มีหนวดประมาณ 131-155 ปล้อง
มดพนัก (Torker Ant) มีหนวดประมาณ 83 -117 ปล้อง
ปัจจุบัน มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997 พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด
บริการกำจัด
มดคันไฟ
1.สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนทำบริการ
2.ฉีดพ่นน้ำยาเคมีภายในและภายนอก โดยเน้นจุดที่มีปัญหามดคันไฟ เช่น บริเวณฝาผนังรอยแตกร้าวของอาคาร วงกบประตูหน้าต่าง รังมดคันไฟ ทางเดิน บริเวณคาน รอบนอกอาคารบ้านเรือน ต้นไม้ พุ่มไม้ สวนหย่อม แหล่งอาหาร แหล่งหลบซ่อน พื้นที่สกปรก เป็นต้น
3.การใช้เคมีผงบีบพ่นหรือโรยเข้าไปในบริเวณที่ฉีดน้ำยาไม่ได้ เช่นแผงสวิทซ์บอร์ดไฟฟ้าเป็นต้น
4.ติดตามผลและควบคุมปัญหาอย่างต่อเนื่อง
5.ให้คำแนะนำในเรื่องการสุขาภิบาล การดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่เพื่อลดปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของมดคันไฟ เช่น บริเวณสวนหย่อม ต้นไม้ พุ่มไม้ แหล่งหลบซ่อน แหล่งอาหาร แหล่งขยะ เป็นต้น
สารเคมีที่ใช้ : cypermethrin, cyfluthrin, permethrin, diazinon, deltametrin, hydramethylnon, abamectin.